top of page

โครงการ “พัฒนาธุรกิจนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับประเทศ”

โครงการสำหรับบริษัทขนาดกลาง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบริษัทเครือข่ายนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise : IDEs)
โดยตั้งเป้าเพิ่มยอดขายจากระดับ 100 ล้านเป็น 1000 ล้านบาท
งบประมาณสนับสนุนโครงการจาก บพข. 
Minerva Consultant ทำหน้าที่เป็นตัวกลางและเครือข่ายในการพัฒนานวัตกรรม Intermediary and Innovation Network : IM

แหล่งทุน : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ภายใต้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

 

แผนงาน F7 (S1P8) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDEs) ขนาดใหญ่

 

เป้าหมาย (Objective) O1 P8 ประเทศไทยมีธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) ขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งเครือข่าย Innovative Business Development Service (iBDS)

ตัวชี้วัดหลัก :

  • ผู้ประกอบการมีนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ

  • ผู้ประกอบการมีความสามารถในการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

  • ผู้ประกอบการมีความสามารถในการส่งมอบสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น

 

ตัวชี้วัดรอง :

  • มีต้นทุนในการดำเนินการลดลง 10%

  • มียอดขายเพิ่มมากขึ้น 20% (ภายใน 3 ปี)

  • มีการลงทุนด้านนวัตกรรมและสร้างรายได้ สร้างมูลค่าจากนวัตกรรมต่อเนื่องทุกปี

ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ

Intermediary ** Minerva***

      ตัวกลางทำหน้าที่แนะนำ ให้แนวทาง ประสานงาน ช่วยสนับสนุนและร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ออกแบบโครงการกับเอกชนกลุ่มเป้าหมายและเชื่อมโยงเอกชนกลุ่มเป้าหมาย กับ iBDS

Innovation Business Development Service (iBDS)

 ผู้เชี่ยวชาญโค้ชในการส่งเสริมผู้ประกอบการ เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม ใช้ความรู้และประสบการณ์ขั้นสูง

Innovation Driven Enterprise (IDEs)

นิติบุคคลซึ่งมีรายได้ระหว่าง 100 – 1,000 ล้านบาท อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง (value added) ใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เน้น Global market แข่งขันด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือโมเดลธุรกิจ ใหม่ๆ ที่ต้องใช้การวิจัยและพัฒนาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ยากต่อการลอกเลียนแบบ

คุณสมบัติของผู้ประกอบการ (IDEs)

ผู้นำมีความตั้งใจที่จะเติบโตทางธุรกิจ

และความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ

นวัตกรรม IDE Owner/Manager

มี Vision และ Capability

จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและ

มีฐานที่ตั้งในประเทศไทย มีเจ้าของ

เป็นคนไทย หรือมีคนไทยเป็น

หุ้นส่วนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

ยินดีสร้างความสัมพันธ์กับ

ต่างประเทศ (International

Mindset) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ

ทางธุรกิจ

ผู้นำเชื่อสนใจในนวัตกรรมและการต่อยอดธุรกิจด้วยนวัตกรรม

อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
หรืออุตสาหกรรมที่มีโอกาสเพิ่มคุณค่าสูง
(value added) หรือมูลค่าสูง

(High value) *

มีหน่วยงานและ/หรือบุคลากรวิจัย

และพัฒนา R&D เป็นของตัวเอง

หรือมีความสามารถที่จะเข้าถึง

R&D ที่นำไปสู่นวัตกรรม

องค์กรมีรายได้ของธุรกิจรหว่าง
100-1,000 ล้านบาท และมี

สภาวะทางการเงินปกติไม่อยู่ในภาวะที่

ปัญหาทางการเงินต่อเนื่อง

ยินดีร่วมมือกับองค์กรรัฐ และ/หรือ

องค์กรเอกชนอื่นในส่วนที่ไม่เป็น

ความลับทางธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างธุรกิจ

ฐานนวัตกรรม (Collaboration)

สามารถจัดสรรบุคลากร/คณะ

บุคลากร คุณภาพและทรัพยากรเพื่อ

การดำเนินการโครงการขับเคลื่อน

ธุรกิจนี้เชิงรุกอย่างมีประสิทธิผล

*(1) ชิ้นส่วนยานยนต์ (2) อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food) (3) สุขภาพและการแพทย์ (4) อิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล (5) อาหารมูลค่าสูง

(6) ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (7) พลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ (8) เศรษฐกิจหมุนเวียน (9) ระบบคมนาคมแห่งอนาคต (10) โลจิสติกส์และระบบ

เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ

IDEs ที่เคยเข้าร่วมโครงการต้องสนับสนุนงบประมาณ (In-cash) และสนับสนุนในรูปแบบอื่นที่มิใช่เงินสด (In-kind) รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ของงบประมาณที่ได้รับจากโครงการ (In-cash >=25%)

IDEs ที่เข้าร่วมโครงการในปีแรก ต้องสนับสนุนงบประมาณ (In-cash) และสนับสนุนในรูปแบบอื่นที่มิใช่เงินสด (In-kind) รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณ ที่ได้รับจากโครงการ (In-cash >=10%)

กรณีองค์กรมีบริษัทในเครือ จะต้องทำการวิเคราะห์ทุกบริษัทเพื่อทำความเข้าใจในภาพรวมธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในบริษัท
การวางแผนกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของผู้ประกอบการที่จะได้รับ

  • ได้รับการสนับสนุนจากทางเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับองค์กร

  • ได้รับงบประมาณสนับสนุน เพื่อดำเนินงาน

  • ได้แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการในการพัฒนาองค์กรโดยใช้นวัตกรรม

  • สามารถลดต้นทุนหรือเพิ่มยอดขายจากการเข้าร่วมโครงการ

  • ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

เอกสาร หรือข้อมูลประกอบในการยื่นข้อเสนอโครงการ

  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ

  • บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ

  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด

  • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • งบกำไร ขาดทุน ปี 2566

  • ประวัติความเป็นมาของบริษัทโดยย่อ

  • Key technology/ผลิตภัณฑ์/บริการของบริษัทในปัจุบัน

  • เหตุผลที่เข้าร่วมโครงการ/ผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาของผู้ประกอบการเบื้องต้น

  • จุดเด่น/ข้อได้เปรียบที่แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีศักยภาพและขีดความสามารถในการดำเนินงานจนสำเร็จ

                    *** ส่งข้อมูลได้ทางอีเมล minerva.consult.services@gmail.com ***

ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2567

บริษัท โปรเกรสซิฟ อินเตอร์-เทรด จำกัด

บริษัท เฮลท์ พลัส โกลบอล ลาบอราทอรี่ จำกัด

บริษัท สตูลค้าเหล็ก จำกัด

บริษัท ดับบลิวซี.ภาคิน จำกัด

บริษัท รีบาลานซ์ จำกัด​

bottom of page