top of page
หน้าจอ.gif

โครงการ “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์การเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนสื่อสังคมออนไลน์

เพื่อการเฝ้าระวังการระรานบนโลกออนไลน์ ระยะที่ 2”

SL2_Logo.png
รางวัล NIA.png

          ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทำหน้าที่ พัฒนาระบบการประเมินข่าวสารออนไลน์ (Social Media Analytics) ในรูปแบบ Web Application

          ด้วยการพัฒนาระบบการกวาดและเก็บข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ สร้างโมเดลการประมวลผลทางภาษา ที่สามารถจำแนกประเภทและระดับความรุนแรงการระรานในโลกออนไลน์ (Cyberbullying Analysis) สร้างพจนานุกรมข้อมูล (Data Corpus) สำหรับใช้ในการเรียนรู้และทำนายผลของ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการทำนายให้มีความแม่นย่ำสำหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการวิเคราะห์เชิงลึกที่สามารถค้นหาผู้ที่เกี่ยวข้องในสายเครือข่ายความสัมพันธ์การระรานในโลกออนไลน์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบหน้า Dashboard ที่เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย

          ทุนการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และการีนตีความสำเร็จด้วยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

FAQs

1. ระบบ Social Media Analytics คืออะไร ? Ans : เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมและคัดกรองสื่อปลอดภัย สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดกลไกและกระบวนการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ ด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การจัดทำ Natural Language Processing (NLP) มาใช้ในการคำนวณเลือกเนื้อหาสาระ ข้อความ เนื้อหาปลอม คำที่สร้างความเกลียดชัง สร้างสรรค์ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อในสถานการณ์โลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อและการเฝ้าระวังสื่อต่อไป 2. ระบบ Social Media Analytics ทำหน้าที่อะไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics คือ การผนวกรวมกันระหว่าง Social Listening Tools และ Social Monitoring ในการเป็นเครื่องมือที่คอยทำหน้าที่ฟังเสียงบนโลกออนไลน์ โดยมีหลักการทำงานเน้นไปที่การตั้งค่า Keyword เพื่อมองหาเสียงบนโลกออนไลน์ทันทีที่มีการพูดถึง Keyword ที่ตั้งค่าไว้ ทั้งนี้ระบบมีรอบในการกวาดข้อมูล (Schedule) ทุก 3 ชั่วโมง จาก 6 platform ประกอบด้วย Facebook, Twitter, YouTube, Instagram, Google และ Pantip และนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดย AI มารายงานบนหน้า Dashboard ต่างๆ 3. ระบบ Social Media Analytics แตกต่างจากคู่แข่งอื่นอย่างไร ? Ans : ระบบ Social Media Analytics จะเน้นไปที่การวิเคราะห์เสียงบนโลกออนไลน์ ที่ผู้ใช้ให้ระบบค้นหาด้วย Keyword ระบบจะทำการกวาดข้อมูลที่เกิดขึ้นบน Social Media โดยใช้ระบบ AI สร้างโมเดลการวิเคราะห์ที่เน้นในเรื่องการคุกคามบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ทำให้การแสดงผลรายงานสามารถระบุระดับของความรุนแรง (Bully Level) และประเภทของการคุกคาม (Bully Type) ได้ เพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ทางอารมณ์ (Sentiment) รวมถึงมีการประมวลผลรวบรวมคำ Popular word ที่เกิดขึ้นใน Keyword ที่สืบค้น 4. มีวิธีการในการจำแนกระดับของความรุนแรงของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกระดับการคุกคาม แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Level 0 : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Level 1 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงไม่ได้ ไม่มีเจตนา ไม่ตั้งใจกระทำ การวิจารณ์รสนิยมทางเพศ เชื้อชาติ รูปร่าง Level 2 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ ก่อความรำคาญ การหมิ่นประมาท กีดกันการเข้ากลุ่ม มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย Level 3 : ระบุตัวผู้ถูกกล่าวถึงได้ สร้างความเกลียดชังในสังคม เกิดผลกระทบทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ยั่วยุปลุกปลั่นให้เกิดการทำร้าย 5. มีวิธีการในการจำแนกประเภทของการคุกคามไว้อย่างไรบ้าง ? Ans : ระบบมีการจำแนกรูปแบบการคุกคาม แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ No Bully : ข้อความที่ไม่มีการ Bully Gossip : แสดงความคิดเห็น ในลักษณะที่ส่งผลเสียต่อความรู้สึกผู้อื่น การนินทา การแซว ทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ขบขัน Harassment : การเยาะเย้ย สมน้ำหน้า ดูถูก มีคำหยาบคายที่ไม่รุนแรง อยู่ในประโยคหรือคำพูด Exclusion : การตั้งใจแบ่งแยกแบ่งฝ่าย หรือกีดกัน และชักชวนให้เกิดการกีดกันทางสังคม ทำให้ผู้อื่นถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ Hate Speech : การปลุกปั่น ยั่วยุ ให้เกิดความเกลียดชัง ต่อกลุ่มเป้าหมาย การกล่าวโทษที่รุนแรง การพูดจาดูหมิ่น ดูถูก เหยียดหยามหรือสบประมาท 6. ระบบสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้กี่ภาษา ? Ans : ระบบจะรองรับการใส่คีย์เวิร์ดในเฉพาะภาษาไทยเท่านั้น 7. เมื่อใส่คีย์เวิร์ดแล้ว ใช้เวลาเท่าไหร่ ข้อมูลถึงจะแสดงผล ? Ans : ระบบมีรอบในการกวาดข้อมูลทุก ๆ 3 ชั่วโมง ได้แก่ 3.00 น. 6.00 น. 9.00 น. 12.00 น. 15.00 น. 18.00 น. และ 21.00 น. ตัวอย่าง เช่น ถ้าหากผู้ใช้งานใส่คีย์เวิร์ดในเวลา 10.30 น. ระบบจะทำการกวาดข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในเวลา 12.00 น. แล้วจึงแสดงผลในหน้าแดชบอร์ดและรายงาน 8. อยากทดลองใช้งาน Social Media Analytics สามารถติดต่อที่ไหน ? Ans : สามารถติดต่อได้ที่ minerva.consult.services@gmail.com หรือทาง Line Official ที่ https://lin.ee/dF8jT93 โดยจะมีทีมงานสนับสนุนการบริการ (Customer Service) คอยติดต่อกลับ 9. เบราว์เซอร์ที่ใช้งาน สามารถใช้อะไรได้บ้าง ? Ans : ระบบ Social Media Analytics สามารถใช้งานได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้ทุกประเภท Google Chrome, Safari, Internet Explorer, Firefox และ Microsoft Edge บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Tablet 10. หากลืมรหัสเข้าใช้งานต้องทำอย่างไร ? Ans : สามารถกด Forgot my password ที่ด้านขวาล่างของช่องลงชื่อเข้าใช้งาน >> กรอก E-mail บัญชีผู้ใช้งาน >> กด SEND RESET LINK >> ระบบส่งลิ้งค์รีเซตรหัสผ่านใหม่ให้ทาง E-mail >> เข้าไปที่ E-mail >> คลิกจดหมาย >> กดที่ลิ้งรีเซตขอรหัสผ่านใหม่ เพื่อทำการตั้งรหัสผ่านใหม่อีกครั้ง 11. หากต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านได้ด้วยตัวเอง โดยกดไอคอนรูปคนด้านมุมขวาบน แล้วเลือก Change Password 12. หากต้องการเปลี่ยนภาษา ต้องทำอย่างไร ? Ans : ระบบรองรับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้ใช้งานสามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้ โดยกดไอคอนเปลี่ยนภาษาที่ด้านขวาบน แล้วกดเลือกภาษาที่ต้องการ 13. หากต้องการเปิดใช้งานโหมดมืด ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนเป็นโหมดมืดได้ โดยกดไอคอนรูปพระจันทร์เสี้ยวที่ด้านขวาบน 14. หากต้องการดูยอดคงเหลือของการดึงข้อมูล (Transection) ต้องการทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถดูยอดคงเหลือของการดึงข้อมูล (Transaction) ได้ โดยกดไอคอนรูปคนรูปด้านขวาบน และดูตรงหัวข้อ Transaction per month start 15. หากต้องการดูรายละเอียดของการวิเคราะห์ในแต่ละกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดของแต่ละกราฟได้ โดยกดที่ข้อมูลที่ต้องการ ระบบจะนำไปสู่หน้าแสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถส่งออกรายละเอียดเป็นไฟล์ Excel และ PNG. ได้ โดยกดไอคอนดาวโหลดที่ด้านบนขวาของแต่ละกราฟ 16. หากต้องการเปลี่ยนรูปแบบกราฟ ต้องทำอย่างไร ? Ans : ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลของกราฟได้ โดยเลือกกดไอคอนกราฟแท่งหรือกราฟเส้นที่ด้านบนขวาของแต่ละกราฟ และสามารถเลือกปิดการแสดงข้อมูลได้ด้วยการคลิกข้อมูลที่ต้องการปิดการแสดงผล 17. หากต้องการเปลี่ยนแปลงคีย์เวิร์ดในเคมแปญ จะมีวิธีการอย่างไร ? Ans : ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงคีย์เวิร์ดผู้ให้บริการแนะนำให้เพิ่มคีย์เวิร์ดใหม่ และทำการลบคีย์เวิร์ดเดิมที่ไม่ใช้ออก 18. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการตั้งค่าอื่น ๆ ในระบบได้หรือไม่ ? Ans : ผู้ให้บริการกำหนดบทบาทการใช้งานในระบบ ซึ่งในแต่ละบทบาท มีสิทธิเข้าถึงการตั้งค่าและการใช้งานที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง แก้ไข โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างแคมเปญ โดยกำหนดบาทบาทไว้ 3 บทบาท ดังนี้  User Admin: สามารถเข้าถึงการตั้งค่าได้ เช่น สร้างผู้ใช้งาน เพิ่มคีย์เวิร์ด เพิ่มแคมเปญ เป็นต้น User Operation : สามารถใช้งานระบบได้อย่างเดียว เพิ่มคีย์เวิร์ด เพิ่มแคมเปญ ไม่สามารถเข้าถึงการตั้งค่าใด ๆ ได้ Guest : ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ สามารถดูได้อย่างเดียว 19. หากต้องการเปลี่ยนบทบาทการใช้งาน ต้องทำอย่างไร ? Ans : User Admin ขององค์กร เปลี่ยนบทบาทการใช้งานได้ โดยเข้าไปที่เมนู User Permission >> User MGT >> กดเลือกบัญชีผู้ใช้งานที่ต้องการเปลี่ยนบทบาท >> กดปุ่ม 3 จุดตรงหัวข้อ Action >> เลือก Edit >> และเลือกบทบาทที่ต้องการเปลี่ยนตรงหัวข้อ Role เพื่อทำการเปลี่ยนบทบาทการใช้งาน 20. หากต้องการประกาศข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานภายในองค์กร ต้องทำอย่างไร ? Ans : User Admin สามารถโพสต์ประกาศข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ โดยเข้าไปที่เมนู Content ด้านบนซ้าย และคลิก Content-MGT จากนั้นกด Add เพิ่ม โดยรูปแบบเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ News, Announcement และ Content

bottom of page